การทําเรือยาว
การทําเรือยาวหนึ่งลําต้องใช้เวลา 30-60 วัน จึงจะแล้วเสร็จ เรือยาวของนครสวรรค์จะ มีลักษณะหัวเรียว ท้ายเรียว ป้องตรงกลาง
ประวัติความเป็นมา
นครสวรรค์เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประเพณีการแข่งขันเรือยาว ซึ่งนิยมจัดใน ช่วงฤดูน้ำหลาก หลังจากเทศกาลออกพรรษาไปแล้ว โดยแต่เดิมนิยมจัดตามวัดต่าง ๆ ในงานปิดทองไหว้พระประจําปี และตอนบ่ายจะมีการแข่งขันเรือยาว กันด้วยความสนุกสนาน ดังนั้นการทําเรือยาวจึงจัดเป็นศิลปกรรมท้องถิ่นอย่างหนึ่งของจังหวัดนครสวรรค์ วัดที่มีการทําเรือยาวมาแต่โบราณ ได้แก่ วัดตะเคียน เลื่อน และวัดเกาะหงษ์ซึ่งอยู่ที่ตําบลตะเคียนเลื่อน อําเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ การทําเรือ ยาวสมัยก่อน ไม่ต้องเสียค่าแรงแต่อย่างใด ใครว่างก็มาช่วยกันทําและมักทําในวัด เพราะวัดเป็นศูนย์รวมของ คนในหมู่บ้านนั้น ๆ การทําเรือยาวหนึ่งลําต้องใช้เวลา 30-60 วัน จึงจะแล้วเสร็จ เรือยาวของนครสวรรค์จะ มีลักษณะหัวเรียว ท้ายเรียว ป้องตรงกลาง
ขั้นตอนการทํา
1. เริ่มต้นจากการไปเลือกไม้ในป่า ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ตะเคียน ไม้สําโรง ไม้มะหาด แต่ส่วนใหญ่นิยมใช้ไม้ตะเคียนทอง เพราะเป็นไม้ประเภทเนื้อแข็ง สีออกเหลืองเมื่อทําออกมาแล้วจะแลดู สวยงาม ช่างทําเรือมีความเชื่อกันว่า ไม้ตะเคียนจะมีรุกขเทวดาหรือนางไม้สิงสถิตอยู่ เมื่อนํามาทําเรือแล้ว นางไม้จะกลายมาเป็นแม่ย่านางเรือ คอยปกปักรักษาเรือและฝีพายเรือทุกคน เม่ย่านางเรือนชาวบ้านให้ ความเคารพนับถือมาก ก่อนทําการแข่งขันจะต้องมีการเซ่นไหว้ด้วยเครื่องเซ่นสังเวย
2. การทําเรือยาวจะขุดจากซุงทั้งต้น โดยเริ่มต้นจากการเปิดปีกไม้ด้านบนออก โดยเลื่อย จากนั้นจึงลงมือขุดตรงกลางโดยใช้ขวานโยน ขั้นตอนนี้เรียกว่าการเหลาเรือให้เป็นรูปเรือโกลน
3. จากนั้นจะทําการเบิกเรือ การเบิกเรือคือ การทําให้เนื้อเรือแบะกางออกทําโดยนําเรือที่ขุดแล้วคว่ำย่างไฟให้ร้อนตลอดทั่วทั้งลําการย่างจะทําให้เนื้อไม้แบะกางออกได้ง่ายและทําให้เนื้อไม้แห้งไปในตัวเมื่อย่างได้ที่แล้วจะหงายเรือขึ้นใช้ไม้ไผ่ส่วนโคนที่มีความแข็งแรงงัดให้เนื้อเรือถ่างออก เมื่อเรือถ่างออกมถ้วจะใช้ไม้ค้ำทิ้งไว้เพื่อให้อยู่ตัว ทําเช่นนี้จนกว่าเรือ ได้รูปทรงตามต้องการ
4. จากนั้นจะทําการเหลาเรืออีกครั้งทั้งข้างนอกข้างในเพื่อให้ได้ความหนาของเรือเท่ากันทั่วทั้งลํา จากนั้นจึงวางกงเรียเป็นระยะ ๆ เท่า ๆ กันแล้วนําไม้พาดลงบนกงเรือเพื่อสําหรับเป็นที่นั่งซึ่งเรียนกว่ากระทงเรือจากนั้นจึงนําใส่โขนหัวและโขนท้ายเพื่อให้งอนขึ้น
การทําเรียขาวจัดเป็นศิลปกรรมพื้นบ้านอย่างหนึ่ง เป็นการแสดงถึงความสามัคคี พร้อมเพรียงของชาวบ้านที่มีมาแต่โบราณ แสดงให้เห็นว่าวัดเป็นศูนย์รวมของชาวบ้านและการทํางานใหญ่จะสําเร็จไม่ได้หากขาดความร่วมมือร่วมใจของผู้คนในสังคม