ประเพณีการแข่งเรือ
ประเพณีการแข่งเรือของชาวนครสวรรค์จะทํากันในเดือนสิบเอ็ดหลังจากออกพรรษาแล้วราวเดือนตุลาคม - พฤศจิกายนของทุกปี ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลากชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาจะจัดให้มีงานเทศกาลปิดทองไหว้พระ และจะมีการแข่งเรือยาวด้วยให้สมกับที่เป็นเมือง ต้นน้ำเจ้าพระยา
ประเพณีการแข่งเรือของชาวนครสวรรค์จะทํากันในเดือนสิบเอ็ดหลังจากออกพรรษาแล้วราวเดือนตุลาคม - พฤศจิกายนของทุกปี ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลากชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาจะจัดให้มีงานเทศกาลปิดทองไหว้พระ และจะมีการแข่งเรือยาวด้วยให้สมกับที่เป็นเมือง ต้นน้ำเจ้าพระยา
ประเพณีการแข่งเรือที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดนครสวรรค์ก็คือ การแข่งขันเรือของวัดเกาะหงษ์ ตําบลตะเคียนเลื่อน อําเภอเมือง ซึ่งเรือที่ใช้แข่งขันโดยมากเป็นเรือขนาดกลาง ฝีพาย 30 - 50 คนหรือเรือขนาดเล็ก ฝีพาย 25 - 30 คน ลักษณะเรือส่วนมากเป็นรูปสัตว์ ที่หัวเรือใช้ผ้าแพรสีต่าง ๆ ผูกมีพวงมาลัยคล้องและมีธงประจําเรือความยาวของเรือประมาณ 30 เมตร ส่วนมากทําจากไม้ตะเคียนทองระยะทางในการแข่งประมาณ 500 - 600 เมตร
ประวัติความเป็นมาเรือยาววัดเกาะหงษ์
วัดเกาะหงษ์ ตั้งอยู่เลขที่ 21 ชุมชนวัดเกาะหงษ์ หมู่ที่ 6 ตําบลตะเคียนเลื่อน อําเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่รอบบริเวณวัดทั้งหมด จํานวน 3 แปลง เนื้อที่ 2 ไร่ 1 งาน 41 ตารางวา ทิศเหนือและทิศใต้ ติดต่อกับหมู่บ้านเกาะหงษ์ ทิศตะวันออก ติดต่อกับแม่น้ําเจ้าพระยา และ ทิศตะวันตก ติดต่อกับถนนสายปากน้ําโพ - โกรกพระ (กันยา จันทรชาต, 2535, หน้า 77) เป็นแหล่ง โบราณสถานประวัติความเป็นมาที่สําคัญทางประวัติศาสตร์ โดยในปี พ.ศ. 2449 (ร.ศ.125) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสต้นทรงนมัสการพระประธานในอุโบสถวัด เกาะหงษ์
วัดเกาะหงษ์ ยังเป็นแหล่งรวมทีมช่างภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านการขุดเรือที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศปัจจุบันกล่าวว่าแต่เดิมชาวบ้านที่อาศัยอยู่ภายในชุมชนวัดเกาะหงษ์ ตําบลตะเคียนเลื่อน อําเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์มีเชื้อสายเป็นชาวมอญ ซึ่งมีอาชีพดั้งเดิม คือ ผู้หญิงจะประกอบอาชีพ ทอเสื่อหวายและผู้ชายจะประกอบอาชีพการขุดเรือ เช่น เรือหมู เรือมาด เรือกระแชง ฯลฯ เพื่อนําเรือล่องลงมาขายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาหรือจังหวัดใกล้เคียงภายหลังต่อมารัฐบาลประกาศสั่งห้ามตัดไม้ทําลายป่าอีกทั้งไม้ขนาดใหญ่เริ่มหายากขึ้นทําให้ชาวบ้านจําเป็นต้องเลิกอาชีพการขุดเรือขายและได้มีการปรับเปลี่ยนจากการขุดเรือเพื่อการค้าขาย หันมาขุดเรือยาวเพื่อใช้ในการสืบสานประเพณีการแข่งขันเรือยาวที่จัดขึ้นในท้องถิ่น
เรือยาวที่มีอยู่ภายในวัดเกาะหงษ์มีอายุเก่าแก่และอยู่คู่กับวัดเกาะหงษ์มานานแล้วเรือยาวขนาดเล็ก จํานวน 30 ฝีพาย เมื่อเข้าสู่สมัยของพระครูนิโรธธรรมประยุตร์ หรือหลวงปู่อินทร์ เจ้าอาวาสวัดเกาะหงษ์ในสมัยต่อมา ท่านได้รวบรวมช่างภายในหมู่บ้าน เพื่อทําการขุดเรือยาว ราวปี พ.ศ.2511 ถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่มีการรวบรวมช่างฝีมือในการขุดเรือของชุมชนวัดเกาะหงษ์ ร่วมมือกันขุดเรือยาว โดยเรือทําจากไม้ตะเคียนที่ได้มาจากป่าในเขตอําเภอลาดยาวจังหวัดนครสวรรค์ (ซึ่งปัจจุบันคือ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์) แต่ปัจจุบันช่างในสมัยนั้นได้เสียชีวิตไปหมดแล้ว ประกอบด้วยช่างหลายคน ได้แก่ นายสังวาลย์ ทองอ่อน เป็นประธานการขุดเรือ) นายเสริม เชตวัน นายมา นคร นายทิ้ง ป้อมเงิน นายจันทร์ ชมพูภู่ และคนภายในชุมชนวัดเกาะหงษ์อีกจํานวนหนึ่ง ภายหลังจากการขุดเรือยาวครั้งนี้เสร็จ ได้ตั้งชื่อ เรือลํานี้ว่าเรือหงส์ทองเป็นเรือยาวขนาดใหญ่
การจัดการแข่งขันเรือยาววัดเกาะหงษ์ได้ถูกจัดขึ้น โดยมีองค์การบริหารส่วนตําบล ตะเคียนเลื่อน เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบร่วมกับผู้นําชุมชนวัดเกาะหงษ์ ในการบริหารงานจัดเตรียม สนามแข่งขันเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทานในเรือยาวขนาดใหญ่ จํานวน 50 ฝีพาย และการแข่งขันชิงถ้วยพระราชทาน ในเรือยาวขนาดกลาง จํานวน 40 ฝีพาย ซึ่งมีการเชิญเรือยาวที่มีชื่อเสียงมา
การทําเรือยาวของวัดเกาะหงษ์
การขุดเรือยาวในสมัยโบราณเมื่อทําการเปรียบเทียบกับในสมัยนี้มีสิ่งที่บ่งบอกถึงลักษณะที่ละม้ายคล้ายคลึงกันอยู่มากโดยเฉพาะพิธีกรรมต่าง ๆ และรูปลักษณะของเรือจากอดีตคนไทยในสมัยโบราณที่ทําการขุดเรือนั้นจะต้องอาศัยแรงคนเป็นหลักซึ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ จะประกอบไปด้วย เลื่อย ขวานโยนกบไสไม้ ตลับเมตร ฯลฯ อีกทั้งขั้นตอนการขัดซึ่งต้องอาศัยแรงคนแทบทั้งสิ้นแต่ด้วยวิวัฒนาการของเทคโนโลยีที่ทันสมัยการนําเครื่องมือสมัยใหม่เข้ามาช่วย เช่น เลื่อยไฟฟ้า กบไฟฟ้า เครื่องขัด ไฟฟ้า เป็นต้น จากการขุดเรือที่ต้องใช้แรงคนสําหรับการขุดเรือด้วยขวานโยนซึ่งสมัยก่อนต้องใช้เวลาเป็นเดือนแต่ในปัจจุบันเลื่อยไฟฟ้าสามารถเจาะเนื้อไม้ใช้เวลาเพียง 2-3 วัน ก็สามารถนําเนื้อไม้ออกได้หมด
ชุมชนวัดเกาะหงษ์ในอดีต ถือได้ว่าเป็นแหล่งรวบรวมช่างขุดเรือยาวที่ได้รับการยอมรับและมีชื่อเสียงในระดับประเทศ ภูมิปัญญาของช่างขุดเรือยาวที่อาศัยอยู่ในชุมชนวัดเกาะหงษ์เนื่องจากในสมัยอดีตมีเพียงขวาน เลื่อย มีด และกบไสไม้ ยังไม่มีเครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทันสมัยรวมทั้งความรู้ทางด้านการคํานวณและหลักทางวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่สามารถทราบชัดเจนได้เป็นการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านสําหรับการสร้างสรรค์ผลงานเรือยาวอย่างแท้จริง
ปี พ.ศ.2511 เป็นต้นมาทางวัดเกาะหงษ์ได้ขุดเรือยาวขึ้น ทั้งหมดโดยประมาณ 18 ลํา มีทั้งส่วนที่ประสบความสําเร็จและไม่ประสบความสําเร็จบ้างหรือขุดแล้วทําการขายไปบ้าง อาทิเช่น เรือหงษ์สวรรค์ และเรือภุมรี เป็นต้น ซึ่งในช่วงปี พ.ศ. 2511-พ.ศ.2535 มีการว่าจ้างให้ขุด เรือยาวโดยคิดเป็นตารางวาละ 10,000 บาท ประกอบกับเริ่มเข้าสู่ยุคที่มีผู้ให้ความสนใจผู้คนนิยมในการชมและเล่นเรือยาวมากขึ้น อีกทั้งอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้ามีเพิ่มมากขึ้นจึงทําให้เริ่มมีวิวัฒนาการการขุดเรือเป็นไปด้วยความสะดวกและรวดเร็ว ประมาณปี พ.ศ. 2515 เริ่มมีการขุดเรือยาวในเชิงพาณิชย์มากขึ้น อาทิเช่น เรือแสงอาทิตย์ เรือหงษ์นครและเรือเทพมังกรทอง เป็นต้น โดยหนึ่งในเรือที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก ท่านสวัสดิ์ คําประกอบ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ในสมัยนั้นและให้เกียรติตั้งชื่อเรือลํานี้ว่าเรือสวัสดิ์คําประกอบ และ เรือกิจสังคม ขั้นตอน ตามกรรมวิธีหรือรูปแบบที่มีลักษณะเฉพาะของทีมช่างวัดเกาะหงษ์ ตําบลตะเคียนเลื่อน อําเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
ขั้นตอนการทําเรือยาวของวัดเกาะหงษ์
การขุดเรือยาวในสมัยโบราณปกติจะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน ก็จะแล้วเสร็จสมบูรณ์โดยลักษณะของเรือยาววัดเกาะหงษ์จะมีรูปแบบประเภทหัวเรียวท้ายเรียวคล้ายกาบมะพร้าวช่างภูมิปัญญาท้องถิ่นมีการวัดขนาดความยาวความกว้างของท่อนไม้ก่อนทําการขุดเรือซึ่งเรียกกรรมวิธีนี้ว่าการคํานวณหาค่ากําลังเรือต้องมีความยาว 3 ศอก 4 นิ้ว หรือเท่ากับ 1.50 เมตร มีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.15 เมตร ผนวกกับขนาดวัดรอบท้องเรือ เรียกว่า กําลังเรือหากเรือมีกําลังน้อยก็จะทําให้เรือจมลงได้หากกําลังเรือไม่มีความสมดุลก็จะส่งผลให้เรือแล่นไปได้ช้าพายไม่ไปเป็นภูมิปัญญาจากช่างขุดเรือที่ได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น